วิธี สอบอารมณ์

โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ท่านทั้งหลายที่มาบวชเรียน มาปฏิบัติธรรมกันทั้งฝ่ายอุบาสก ทั้งฝ่ายอุบาสิกา ถ้าจิตใจเป็นมหากุศล ขอให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ทิ้งตำราเก่าหมด เรามาศึกษาชีวิตใหม่ เริ่มต้นชีวิตใหม่กันในวัด ด้วยการศึกษา สวดมนต์ไหว้พระพิจารณาปัจเวกขณ์ พิจารณาปัจจัยสี่เพิ่มขึ้นให้ดี เรื่องใหม่ต้องสร้างมันขึ้นมาในจิตใจ หล่อหลอมชีวิตให้สดชื่นโดยพระธรรมวินัย

การปฏิบัติกรรมฐานอย่างที่สอนในโบสถ์ ตจปัญจกรรมฐาน นั่นแหละคือ ยืนหนอห้าครั้ง การปฏิบัติกรรมฐานไม่ต้องไปสอนวิชาการ เพราะไม่ต้องการให้รู้และไม่ต้องดูหนังสือ ปฏิบัติโดยเคร่งครัดให้มันผุดขึ้นใหม่ ดวงใจใสสะอาดและหมดจด ให้มันผุดขึ้นมาและตอบได้ตามหลักนี้ เช่น ขันธ์ห้า รูปนามเป็นอารมณ์ อายตนะ ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ ธาตุ ๑๘ หน้าที่การงานต้องรู้จุดนี้เป็นสำคัญ ไม่ต้องปฏิบัติมาก พองหนอ ยุบหนอ ให้ชัดได้จังหวะดีเท่านี้เป็นการสมควรและปฏิบัติได้ ยกตัวอย่าง ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เท่านี้ก็พอ ย่างไปอย่างไร จิตกำหนดอย่างไร

ครูอาจารย์จะถามว่า พองหนอ ยุบหนอเป็นอันเดียวกันหรือคนละอัน ถ้าคนละอันเพราะเหตุใด คนผู้ปฏิบัติได้ตอบแจ๋วเลย ไม่ต้องเอาหนังสือมาตอบ เอาที่ปฏิบัติได้มาตอบถึงจะถูกต้อง ไม่ต้องไปถามซักว่าเพ่งกสิณไหม อสุภไหม ไม่ต้องเลย มันจะเกิดขึ้นมาเองโดยวิธีนี้ จึงให้ กินน้อย พูดน้อย ไม่ต้องดูตำรับตำรา ตัดปลิโพธกังวล ไม่ต้องมีกังวลทางบ้าน ไม่ต้องกังวลทางวัด ตัดปลิโพธกังวลทำกิจวัตรอย่างนี้ซิแน่นอน ได้แน่

อายตนะ อินทรีย์ธาตุ ขันธ์ห้า รูปนามเกิดที่ไหน เป็นอย่างไร เสียงกับหูอย่างไร ตากับรูปอย่างไร อายตนะ อินทรีย์สัมผัส เกิดอารมณ์อย่างไร ตอบได้ไหม พองหนอ ยุบหนอเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เป็นอันเดียวกันหรือเปล่า นามรูปปริจเฉทญาณ ยังแยกไม่ได้ เลื่อนขึ้นอย่างไร รู้ไหม อย่างไร ตอบไม่ได้เพราะท่านทำไม่ได้ ไม่รู้จริง รู้จริงแสดงออกบอกได้โดยไม่ต้องตรึกตรอง ไม่ต้องใช้สติคิด ปัญญาคิดเลย มันจะไหลออกมาเป็นไข่งูไหลพรวดออกมา อ๋อใช่แล้วต้องอย่างนี้แน่ มันเกิดแสงปัญญาธรรม มันจะเกิดตอบออกมาเอง

โดยเฉพาะ เช่น พองหนอ ยุบหนอ ยังปฏิบัติไม่ได้ เลยก็ไม่รู้ไปยุบก่อนพองมีที่ไหน หายใจออกก่อนเข้ามีที่ไหน เอาอะไรมาออกมันไม่เข้า มันต้องเข้าก่อนถึงจะออก ทำนองนี้เป็นต้น เท่านี้ก็ผิดแล้ว ทำไม่ถูกแล้วจะไปปลูกสติดำริชอบประการใด อ๊อกซิเจนเป็นอย่างไร หายใจทางสะดือรู้ไหม ไม่รู้ พองหนอ ยุบหนอ หลับตอนไหน ไม่รู้ ไม่เข้าใจ เท่านี้ท่านทำไม่ได้ ชั้นอนุบาลไม่ผ่าน แล้วจะขึ้นชั้นประถมอย่างไร แล้วจะไปได้ญาณสูงที่ไหน ญาณต้นยังไม่ได้

นามรูปปริจเฉทญาณแยกรูปแยกนามได้ ถ้าเสียงดังปัง เสียงหนอ เสียงกับหูเป็นอย่างไร เสียงนั้นบอกว่าอย่างไร มีความหมายอย่างไร ต้องตอบได้ นี่ความหมายของภาคปฏิบัติ อ๋อ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ทำไมยืนหนอห้าครั้ง มือไพล่หลัง พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร ตั้งตัวตรงทรงที่หมาย ปอดขยาย หายใจสะดวก เอามือไว้ข้างหน้ามัจะปอดขยายได้อย่างไร หายใจก็ไม่สะดวกอย่างนี้

เราเจริญกรรมฐานมา ๓๕ ปี ผ่านมาแล้ว เจริญ “อานาปา” มา ๒๐ ปีเศษ เจริญมโนมยิทธิมา ๑๐ ปีเศษ เพ่งกสิณได้ ธรรมกายได้ ทำนองนี้เป็นต้น มันต้องทำได้ ถ้าทำไม่ได้สอนเขาอย่างไร อย่างนี้นักปฏิบัติธรรมโปรดทราบ ต้องสอนตัวเองก่อนอื่นใด ต้องให้ได้ เดินจงกรมได้ไหม ตั้งสติกำหนดยืนหนอห้าครั้ง มีความหมายอย่างไร อย่างที่พระท่านบวช เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ให้ได้ห้าครั้ง ลงขึ้นอย่างไรเบื้องต่ำปลายผมลงไป เบื้องบนปลายเท้าขึ้นมา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เรากำหนดยืนได้ กำหนดจนเชี่ยวชาญ ชำนาญการมโนภาพ สมภาพคือศีลแสดงท่าทีกิริยารู้ได้อย่างดีว่า สวยหรือไม่สวย ดีหรือไม่ดีประการใด มันจะแจ้งแก่ใจ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ รู้ได้เฉพาะตัวเราแน่นอน

นอกเหนือจากนั้นเราดูคนอื่นว่าเห็นหนอ นักปฏิบัติธรรมเท่าที่สังเกต ทบทวนประเมินผลแล้วไม่เคยกำหนด มัวแต่คุยกัน เห็นใครมาก็ไม่รู้เรื่องว่าเขามาทำอะไร เท่านี้ใช้ไม่ได้ ไม่ได้ญาณัง คือความรู้ในปัญญา รู้ว่าเขาเดินมาทำไมกัน อ๋อคนเดินมานี้ปลายผมเป็นอย่างไร ปลายเท้าเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นอย่างไร นิสัยเป็นอย่างไร เราจะรู้แจ้งแก่ใจเป็นปัจจัตตัง โดยคนอื่นบอกไม่ได้ไม่มีขายในตลาด ไม่ใช่วิชาการ เป็นเทคนิควิธีปฏิบัติการของบุคคลผู้ประสบการณ์กับการกำหนดจิต ใช้สติกำหนดรู้ทุกประการ คนที่เดินมาเราจะรู้ได้ว่าเขามาทำไม นิสัยอย่างนี้ต้องแก้ไขอย่างไร พอมาถึงเราจะพูดให้เขาเข้าใจด้วยบทอันใด สรุปด้วยอย่างไร อย่างนี้เป็นการชอบใจยิ่งสำหรับผู้มา และจะกลับไปด้วยสวัสดีมีชัยปลื้มใจไปทุกคน เพราะเกามันถูกที่ แขกจึงนิยมมากันมากมาย โดยทำนองนี้

ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีเวทนาไม่เคยกำหนด ปล่อยมันไปตามเรื่องตามราวอย่างนี้ใช้ได้หรือ เลยรู้ไม่จริงในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ต้องไปอรรถาธิบายวิชาการให้ฟัง ให้มันผุดขึ้นเอง ตอบได้อย่างดีว่าจิตกำหนดพองกับจิตกำหนดรู้เหมือนกันไหม พองหนอ ยุบหนอ กับรู้หนอเหมือนกันไหม จิตกำหนดคิดกับกำหนดรู้เหมือนกันไหม คิดกับรู้เหมือนกันไหม นี่เท่านี้ต้องตอบได้แล้ว อ๋อคิดมันไม่ออก มันบอกไม่ได้ อันนี้จิตอันเดียวกันแต่สติมีลักษณะเป็นสามสติตัวต้น สติตัวกลาง สติตัวปลาย พร้อมกันเมื่อใดกำหนดคิดกับกำหนดรู้ต่างกันแยกออกได้ทันที ว่ามันคิดไม่ออก รู้นี่หมายความว่าปัจจุบัน ปัจจุบันนะเราไม่รู้ตัว รู้แต่ครั้งอดีตกำลังคิดอยู่นี่ต่างกันแล้ว

แต่ทำไมหนอผู้ปฏิบัติตอบไม่ได้ กลับไปดูหนังสือตอบอย่างโน้น อย่างนี้ อ๋ออสุภะ อย่างโน้นนะ ต้องเพ่งกสิณอย่างนี้นะ มันไม่ใช่หรอกต้องตอบให้ได้ว่า คิดหนอที่ลิ้นปี่ นี่เป็นการสตาร์ท ทุกคนไม่เคยปฏิบัติเลย เท่าที่ทบทวนแล้วไม่ได้กำหนดนี้ ถ้าเราตั้งสติไว้ดี สัมปชัญญะดี กำหนดว่าคิดเพราะเหตุใด ไอ้ที่คิดแปลว่าอดีตน่ะรู้ไหม ทำไมคิดถึงแปลว่าอดีต เพราะเรียนมาแล้วมัน อดีตจึงกำหนดว่าคิด ปัจจุบันจึงกำหนดว่ารู้หนอ ผ่านพ้นไปแล้วเป็นอดีต แต่จำไม่ได้ นี่อย่างนี้เรียกว่า รู้ตัวไหม ไม่รู้ จึงกำหนดว่ารู้หนอ เท่านี้ยังตอบแยกกันไป จิตคนละดวง จิตคนละกระแส คนละอารมณ์ แล้วทำไมเอาองค์เดียวกันเล่า ผู้ปฏิบัติยังใช้ไม่ได้ เดินจงกรมไม่ได้ปัจจุบัน พองหนอไม่ได้ปัจจุบัน ยุบหนอไม่ได้ปัจจุบัน มันต้องพองก่อน ยุบก่อนมีที่ไหน หายใจออกก่อนหรือ มีได้ไหม ใครลองทำซิหายใจออกก่อนได้ไหม หรือใครทำได้เรายอมกลัวเลย มันต้องหายใจเข้าก่อนถึงจะออกได้ มันไม่เข้ามันจะมีอะไรมาออก ถ้าโยมไม่รับข้าว ไม่รับอาหารมาตั้ง ๗-๘ วัน จะมีอุจจาระออกไหม ทำนองนี้เป็นต้น นี่เหตุผล เหตุผลสำคัญยิ่ง

ผู้ปฏิบัติสนใจโปรดฟัง เอาปฏิบัติให้มันถูกจุด เช่น ยืนหนอ ยืนกันจริง ๆ ซิ มโนภาพ แสดงออกมารูปร่างหน้าตา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อ๋อรูปร่างเราแก่แล้ว ใช่แล้วเลื่อนลอย ตายจริง แสดงเป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงภาวะอยู่เสมอ มันจะบอกเองไม่ต้องไปดูหนังสืออย่างนี้เป็นต้น ทำได้แล้วหรือยัง ประเมินผลกันเสียทีว่ายืนหนอ ๕ ครั้ง ถ้าท่านทำได้นะ ดูคนที่เดินมาเขาเป็นชั้นไหนทายได้เลย เป็นผู้ใหญ่หรือเป็นผู้น้อยเป็นผู้บังคับบัญชาหรืออย่างไร แต่งตัวปอน ๆ มาคิดว่า เขาเป็นคนชั้นต่ำ เปล่านะ ชันสูงก็มีนะ แหมแต่งตัวสวยโก้ผูกเนคไทมาแล้ว ถือกระเป๋าเจมสบอนด์ ดูซิผู้ดีมีขั้น ผู้ดีต้องต้อนรับดี เอาน้ำมาเลี้ยง เปล่า คนร้ายทีเดียว เตรียมจะมาต้มมาตุ๋น รู้ไหม ไม่รู้แน่ ไม่รู้แน่ ๆ นี่ข้อนี้ยังทำไม่ได้ ทำได้แล้วหรือยัง นักปฏิบัติธรรมทุกท่านมาอยู่กันเป็นเวลานานแล้ว คิดหนอเป็นอดีตนะ รู้หนอเป็นปัจจุบันนะ เสียงหนอที่มันเสียงดังปังและผ่านไปแล้ว โยมกำหนดว่าอย่างไร จะกำหนดว่ายังไง เสียงมันฟังผ่านไปแล้ว กำหนดอย่างไร เป็นอดีตหรือเป็นปัจจุบัน รู้ไหม

นี่แค่นี้จิตใจยังไม่เบิกบานเลย ๑ พรรษาแล้วอะไรเป็นอดีต อะไรเป็นปัจจุบัน อะไรเป็นอนาคตเอาตรงนี้ได้แล้วหรือยัง นี่บางแห่งอย่าลืม ๗ วัน ๗ คืนนะ ได้อนุบาลใช้ได้ ๗ วัน ๗ คืน โดยติดต่อต่อเนื่องรู้ว่าพองยุบเป็นอย่างไร เสียงนั้นหมดไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเป็นอดีต หรือเป็นอนาคต เสียงนกร้อง เสียงปืน ดังปัง แล้วหายไปจะกำหนดอย่างไร จะเรียกว่า อดีต หรือปัจจุบัน รู้ไหม เคยกำหนดต้องรู้แน่ เสียงทันต่อเหตุการณ์ไหม เขาด่าเราขณะนี้ยังไม่เลิกตั้งสติไว้ เสียงหนอ เสียงหนอ อ๋อที่ด่าเดี๋ยวจะหมดเป็นอดีต แล้วผ่านพ้นไป เหลืออยู่คือปัจจุบัน ปัจจุบันคืออะไร คือจิตที่สำนึกอัดเทป สัมผัสเกิดจิตเหลืออยู่คือปัจจุบัน นี่ด่าหายไปแล้วหมดสิ้นไปเป็นอดีต บัดนี้เป็นปัจจุบันก็ต้องกำหนดให้ทัน ก็รู้หนอคือปัจจุบัน ว่าได้ไหม

ผู้มีปัญญาโปรดฟัง ปฏิบัติอยู่เท่านี้ไม่ต้องไปทำมาก ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ให้ได้ปัจจุบัน พองหนอ ยุบหนอ ให้ได้ปัจจุบัน เท่านี้เหลือกินเหลือใช้ เหลือที่จะพรรณนา อะไรเป็นอดีต อะไรเป็นปัจจุบัน คิดหนอเป็นอะไร รู้หนอเป็นอะไร เห็นหนอเป็นอะไร เสียงหรือรูป รูปมันยังอยู่ปัจจุบัน แต่รูปนั้นยังอยู่ปัจจุบันเห็นไหม ดูฝาผนัง เห็นหนอ เห็นหนอ ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ก็ยังเห็นอยู่ แต่ครั้งที่กำหนดเห็นเบื้องต้นเป็นอดีตไป เห็นหนอครั้งที่ ๒ ปัจจุบันยังเห็นหนอครั้งที่ ๓ เป็นปัจจุบัน ครั้งที่ ๒ เป็นอดีต แล้วเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป นี่แหละคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปมันคงที่คงวา คงศอก แต่พิจารณาโดยธรรมแล้วของที่อยู่นั้นมิได้คงที่ มิได้คงวา คงศอก แต่หอประชุมคงวา คงศอกโดยวัตถุ แต่จิตใจคงที่ไม่ได้ เป็นอนิจจังไม่เที่ยง หนึ่งครั้งกำหนดเห็นหนอ จิตมันไม่เที่ยง แต่ฝาผนังมันเที่ยง มันคงวา คงศอกให้เห็น อยู่ ณ บัดนี้ กำหนดสามครั้ง ครั้งที่ ๓ เป็นปัจจุบัน กำหนดครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๔ เป็นปัจจุบัน ครั้งที่ ๓ เป็นอดีต เท่านี้ตอบได้ไหม

ตั้งสติให้ดีซิ กำหนดจะได้รู้ว่าอะไรเป็นอดีต เห็นหนอ เห็นหนอ โยมเดินมา เห็นครั้งที่หนึ่งต้องเป็นอดีตไปแล้ว เห็นครั้งที่สองเป็นปัจจุบัน เป็นครั้งที่ ๓ สามเป็นปัจจุบัน สองเป็นอดีต เดี๋ยวจะเห็นคนเดินมาเป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงภาวะแล้วเข้าสู่ธรรมะนะ จิตนี้เปลี่ยนแปลงภาวะ คงที่คงศอกคงว่าไม่ได้ แต่รูปคงเป็นรูปตามเดิม นามธรรมเปลี่ยนแปลง จิตที่ผันแปร โดยคิดแต่รูป ผันแปรโดยรูปอย่างงี้ รูปผันแปร โดยรูปคือแก่ลง ผันแปรโดยรูป เราจะเห็นได้ว่า ฟิล์มภาพยนตร์เราดูแค่ ๕ ภาพ ดูอยู่เฉย ๆ แต่เมื่อภาพหน้าภาพเกิดหมุนขึ้นมา มันแสดงท่าทีออกว่าขวาหรือซ้าย มือซ้ายมือขวาประการใด แสดงท่าที่ได้โดยวิธีนี้เป็นต้น นี่ทุกคนยังไม่รู้ รูปนะมันเป็นภาพเดียวกัน แต่ไวขึ้นโดยมองไม่เห็นด้วยสายตา….กลายเป็นรูปเดิน กลายเป็นนั่ง กลายเป็นปากพูดเหมือนตัวหนัง ข้อเท็จจริงหนังอยู่เฉย ๆ แต่เวลามันเดินฟิล์มเหมือนจิตที่เปลี่ยนแปลงที่ต้องคิดอ่านอารมณ์อยู่ตลอดเวลากาล เปลี่ยนแปลงภาวะคืออนิจจังไม่เที่ยง เป็นทุกข์จริง ๆ เปลี่ยนแปลงภาวะได้ เข้าสู่ภาวะของธรรมกลายเป็นอนัตตา นี่ต้องพูดกันภาคปฏิบัติอย่าไปเอาวิชาการมาพูดไม่ได้ นักปฏิบัติต้องไม่รู้ล่วงหน้า จะไปรู้ล่วงหน้าทำอย่างงั้นอย่างงี้รู้เชิดฉิ่งมันจะเชิดกลองเอา แล้วประคองน้ำใจไม่ได้เลยกลายเป็นคนฟุ้งซ่านเสียสติ เลยพูดมากยากนานไปเลย เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติได้ดังแนวนี้

ครูอาจารย์จะถามว่า โยมหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยืนหนอ ๕ ครั้ง ตั้งสติไว้ที่ไหน นี่วิธีสอบอารมณ์จิตปักไปตรงไหน จิตถึงไหน รับอารมณ์ได้ไวหรือช้า นี่วิธีสอบอารมณ์ต้องถามอย่างนี้ อ๋อ จิตพุ่งไม่ไหว ไปไม่ได้ เพียงนึกเอาเฉย ๆ สติไม่ตาม ใช้ไม่ได้ต้องกำหนดใหม่ นี่สอบอารมณ์ว่าอย่างนี้นะ ขอพระภิกษุนวกะธรรมทายาทโปรดเอาไปใช้เผื่อจะไปสอนลูกหลานเมื่อสึกหาลาเพศไป อย่างนี้ แยกรูป แยกนาม แยกอย่างไร นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ใช่อึกอัก ๗ วันเลยโสฬสเลย ฟังเทศน์ลำดับญาณเลยสำเร็จเลย เป็นโสดาแล้วอะไร กระผมเองปฏิบัติมา ๓๐ ปียังไม่เป็นโสดาเลย เดี๋ยวนี้เขาเป็นโสดากันง่ายจังเลย

ขอฝากพระภิกษุธรรมทายาทผู้เป็นบัณฑิตเอาไปสอนลูกหลาน แยกรูปแยกนาม อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม รูปก็คงที่คงวา คงศอก ได้แก่อะไร คงที่คงวาจับตั้งอยู่เฉย ๆ ดูไปดูมาเห็นหนอ เห็นหนอ เห็นหนอ กลายไป เปลี่ยนแปลง รูปทาสีแดงกลายเป็นสีดำ เห็นชัดขึ้นมาเลย นี่แหละอนิจจัง เห็นหนอ นี่พอเห็นหนออีกทีเป็นอนิจจัง เห็นหนออีกทีเป็นอดีต เอาซ้ำอีกทีเห็นหนอกำลังเดินเข้ามาแล้ว เปลี่ยนแปลง เห็นหนอสติดี สัมปชัญญะดี อ้อคนนี้เดินมาเห็นหนอปลายผมถึงปลายเท้า ปลายเท้าขึ้นไปหาปลายผม ปลายผมลงไปหาปลายเท้า ปลายเท้าขึ้นไปหาปลายผม คำว่าเห็นหนอ ตอบได้เลย คนนี้ยิ้มแฉ่งมาแล้ว เห็นหนอ ปัจจุบันรู้ คนนี้เป็นพิษเป็นภัยกับเราจงอย่าไว้ใจ จงพยายามอย่าบอกความลับ อย่าพยายามพูดหละหลวมกับคนนี้เลย นี่ปัญญาเกิด ปัญญาเกิดอย่างนี้

ไม่ใช่ว่า เอ๊ เห็นหนอก็แล้ว พองยุบก็แล้ว เดินขวาย่างซ้ายย่างก็แล้ว ไม่เห็นเกิดปัญญา นี่จะตอบอย่างนี้ แทบทุกคนไม่เห็นเห็นอะไร จะไปเห็นอะไร ก็ไม่เห็นได้อะไร จะไปเห็นอะไร มันไม่ได้อะไรเลยนี่ อย่างงี้ทำไมข้ามไปเสียเล่า เห็นหนอไม่เคย เสียงหนอบ้างไหม เปล่า มีแต่คุยกัน พอตั้งสติได้แล้ว เสียง……หนอ อ๋ออย่างนี้แหละหนอ เสียงนี้เขาพูดคุยกัน เสียงนี้เขาปรึกษางานกัน เสียงนี้เขาจะทำงานกัน เสียงนี้เขาจะสำเร็จมรรคผลของเขา เขาจะทำการค้าของเขา เสียง….หนอ สติตั้งสัมปชัญญะมา บวกกันเกิดปัญญาตอบออกไปได้เลย ที่เขาพูดว่าจะทำการค้าเจ๊งแน่แล้ว จริงด้วย นี่ปัญญาบอก มันจะบอกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ พระไตรลักษณ์

นี่ตรงนี้นะ ท่านทั้งหลายแยกรูปแยกนามอย่างไร รูปเป็นภาวะที่ผันแปร เปลี่ยนแปลงกลับกลอกหลอกลวงได้ ถ้าเรากำหนดขณะยืนที่ฝาผนัง ยืนหนอ เห็นหนอ กำหนดเรื่อยไป สติดี ปัญญาเกิด ภาพมันจะบอก เราเต้นเหมือนตัวหนังว่าสภาพความเป็นอยู่ของรูปนี่ผันแปรต่อไปจะเฒ่าชะแรแก่ชรา แล้วตรงนี้จะชำรุดตรงนั้นจะทรุดที่นั้นจะใช้ไม่ได้ ต้องซ่อมนี่ประโยชน์ในทางโลก ต้องซ่อม ซ่อมตรงไหนก่อน นี่สภาวะรูปเปลี่ยนแปลงผันได้อย่างนี้

แต่จิตนามธรรม ถ้าไม่มีธรรมะเปลี่ยนแปลงได้ จิตของท่านทั้งหลายเปลี่ยนแปลงได้ชื่อว่านามเฉย ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้พูดจริงต้องทำจริงทุกสิ่งเป็นเช่นนั้น ธรรมะเข้ามาประกอบกิจโดยชีวิตของนามธรรม คนนั้นจะกลายเป็นคนชั่วไม่ได้ จะเปลี่ยนแปลงให้ชั่วไม่ได้ แต่เปลี่ยนชั่วให้เป็นดีได้จากนามธรรม เอาธรรมะไปใส่เข้า โดยสติสัมปชัญญะตัวกำหนดได้ปรากฎออกมาเป็นนามธรรม พองหนอ ยุบหนอ อันเดียวกันไหม คนละอันอย่างไร อ๋อจิตกำหนดพองหนอ มันมีกี่ระยะ จิตตั้งใจถึงอยู่จุดไหนชั้นกลางหรือชั้นต้น หรือชั้นปลายหนออยู่ที่ตรงนี้นะต้องถามตรงนี้ ยุบหนอมีกี่ระยะ ระยะต้นตั้งสติอย่างไร ระยะกลางที่จะลงหนอ ปลายสติของท่านกำหนดตรงไหน จิตมีอย่างไร แล้วก็ดับวูบไปอย่างไร ตอบได้ทันทีถ้าทำได้ มันจะเห็นชัดสำหรับของบุคคลของใครของมัน บางคนอาจจะตอบว่า ๓ ระยะ บางคนก็ตอบว่า ๒ ระยะ บางคนก็บอกระยะเดียว แล้วเราจะดูได้เลยว่าคนนี้ได้อย่างไร กำหนดได้ดีไหม นี่วิธีสอบอารมณ์

ประการที่สอง ตาเห็นรูป จิตกำหนด ขวาย่างหนอ จิตกำหนด หูได้ยินเสียง จิตกำหนด ลิ้นรับรส จิตกำหนด จมูกได้กลิ่น จิตกำหนด อยากจะถามว่าจิตกำหนดเสียงหนอกับจิตกำหนดตาเห็นรูปจิตดวงเดียวกันไหม มีลักษณะอย่างไร เหมือนกันไหมในอารมณ์นั้น ตอบยังไง ตอบยังไง นี่สอบอารมณ์ต้องสอบอย่างนี้ คนที่ทำได้ก็ตอบว่าจิตกำหนดเห็นหนอแล้วเห็นหนอครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๑ หมดไป ครั้งที่ ๒ จิตดวงใหม่เข้ามาแทนที่ ดวงเก่าดับ เป็นอนิจจัง ดวงที่ ๓ มาอีกแล้ว เห็นหนอดับ ดวงที่ ๔ มาอีกแล้ว เห็นหนอดับ ดวงที่ ๕ เห็นหนอ ปัญญาเกิด เกิดว่าอย่างไร รูปที่เดินมานี้รีบต้อนรับ รีบจัดการโดยด่วนเขาจะรีบไป นี่ห้าครั้งทำได้หรือยัง ไม่รู้เรื่อง

ขอท่านผู้มีปัญญาโปรดเอาของเราไปเป็นแนวคิดปฏิบัติต่อไป อย่างงี้ เสียงหนอ จิตกำหนด เสียงหนออีกครั้ง หนึ่งดับ ดวงต้นที่กำหนดไปหายไปเป็นอดีต ดวงที่สองเป็นปัจจุบัน ดวงที่สามเป็นปัจจุบัน ดวงที่สองเป็นอดีต แล้วก็ต่อว่าจิตกำหนดเสียงหนอกับเห็นหนอต่างกันอย่างไร ต่างกันไหม ดวงเดียวกันไหม จิตอย่างเดียวต่างอารมณ์ไหม ต่างกันแน่นอน คนละอารมณ์แน่นอน จิตมุ่งมาดปรารถนาอันเดียวกันก็ตาม ต่างวาระต่างอารมณ์แล้วจิตเป็นดวงเดียวกันอย่างไร เหมือนกันไหม นักปฏิบัติเคยสังเกตไหม ไม่เคย พองหนอ ยุบหนอได้จังหวะไหม ถ้าได้จังหวะแปรสภาพอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พองเป็นรูปไหม รู้แต่ว่าพองเป็นรูป ยุบเป็นรูป จิตกำหนดรู้เป็นตัวนามใช้ไม่ได้ พองหนอ อ๋ออะไรหยุดยุติหมดไป ยุบหนอ หมดไป พองหนอ ยุบหนอ หมดไป

ถ้าท่านสติดีสัมปชัญญะดี สมาธิดี พองหนอ ยุบหนอ ในเมื่อ ๓๐ นาทีแรก ก้นกระสับกระส่ายกระเสือกกระสนมากมาย ๓๐ นาทีหลังแจ๋วคล่องแคล่วว่องไว กำหนดได้ทันท่วงที ได้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน รูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ ก็จะตอบใหม่เปลี่ยนแปลงภาวะจะตอบใหม่แล้ว ถ้าตอบว่า ๓ ระยะ เหลือ ๒ ระยะแล้ว ตอนใหม่อาจจะเหลือ ๓ ระยะ เหลือ ๑ ระยะ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญต้องพิจารณาดูว่าคนนี้ทำได้หรือเปล่า หรือตอบเอาเอง หรือว่าคนนี้ตอบด้วยความเห็นในสภาวธรรมของเขา ต้องฉลาดต้องเฉลียว ต้องปฏิบัติได้ ตอบได้เลยอย่างนี้ ขวาย่างหนอ จิตกำหนดขวาย่างไปได้ปัจจุบันไหม…ได้ สติอยู่ที่ไหน จิตอยู่ที่ไหน อย่างไร รู้แล้วได้คล่องแคล่ว ซ้ายก็คล่องแคล่วไม่หลงไม่ลืมแล้วก็ถาม ขวากับซ้ายอันเดียวกันหรือเปล่า เราจะตอบว่ายังไง และจิตกำหนดขวาย่างหนอกับจิตกำหนดซ้ายย่างหนอดวงเดียวกันหรือเปล่า ดวงเดียวกันไหม ตอบส่งเดชไม่ได้นะต้องของใครของมัน เห็นเอาเอง อย่างนี้ชัดมาก

พอตอบได้แล้ว อ๋อ ใช่แล้ว จิตกำหนด ตา หู จมูก ลิ้น อันเดียวกันหรือเปล่า สัมผัสเกิดจิต จิตเกิดอย่างไร อารมณ์เกิดขึ้นโดยวิธีไหน อย่างนี้นะรับรองท่านได้ผลแน่ ได้ผลแน่นอน นอนกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ได้คล่องแคล่วว่องไวดี เดี๋ยวจะเคลิ้ม จะเพลิน จะเผลอบ้างบางประการ สติใส่เข้าไป เดี๋ยวมันจะวูบเหมือนขับรถลงสู่สะพานสูง ๆ วูบ ลงไป แล้วก็จะดิ่งพสุธา มองไม่เห็นตัว มองไม่เห็นตน ไม่เห็นมีตนมีตัว แล้วสติดีเหมือนอยู่ในที่มือ เกิดแสงสว่างข้างนอกไม่รับสัมผัส ข้างในสัมผัสอย่างไร ถามดูบ้างซิ สัมผัสยังไง ในเมื่อนอนหลับรู้ มีสติรู้ สัมผัสภายในอย่างไร ถ้าโยมทำได้ตอบแจ๋วเลย ตอบแจ๋วเลยโดยวิธีนี้

นี่วิธีสอบอารมณ์อย่างงี้ ขวาซ้าย สติไว้ตรงไหน พองหนอ ยุบหนอ กำหนดอย่างไร เอาจิตดันออกหรือพองออก เอาจิตออกหน้าหรือ เอาจิตตามหลัง จิตอยู่กลางอย่างไร โยมทำได้ตอบแจ๋วไปเลยยังงี้ นี่ที่ถูกต้องทำไปทำมาญาณเกิด สติดี พองหนอ ยุบหนอ เปลี่ยนแปลงแล้ว จะไม่คงที่เหมือนเดิม อาจจะยืดยาด อาจจะเร็วโดยกำหนดไม่ทัน นี่เปลี่ยนแปลง เดี๋ยวก็วูบหน้าวูบหลัง ทำอย่างไร ทำไมวูบ ทำไมถึงสะอึก ทำไมถึงกำหนดไม่ได้ ทำไมถึงพองยุบไม่เห็นเพราะเหตุใด นี่วิธีสอบอารมณ์ ไม่เห็นกำหนดยังไง รู้หนอ รู้หนอ เอ้ากำหนดไม่ได้ ไม่เห็น กำหนดอย่างไร กำหนดอย่างไร หายใจยาว ๆ หายใจยาว ๆ อย่าเพิ่งกำหนด นี่วิธีแก้หายใจยาว ๆ ได้แล้วทำอย่างไร มองไม่เห็นพองยุบ มองไม่เห็นแก้ไม่ได้ ทำอย่างไรต่อไป กำหนดก็ไม่ได้ ไม่หายและไม่เห็น ภาวะนี้ รีบเดินจงกรม ออกเดินจงกรมทันที วิธีแก้ทำอย่างนี้ นี่ไม่เคยแก้กันเลย ยังไงกันยังงั้น กำหนดตะบันไม่รู้เหนือรู้ใต้แล้วท่านจะได้อะไรเล่า

นี่วิธีสอบอารมณ์นะ จะต้องถามพองหนอ ยุบหนอ เอาจิตไว้ที่ไหน หนออย่างไร แล้วปลายจิตจะสรุปวูบไปตรงไหน เกิดอย่างไรที่ได้จังหวะ ถามอย่างนี้ซิอย่างนี้ได้ผลแน่ แล้วผู้ปฏิบัติก็จะตอบว่า พองหนอ พองสั้น พองยาว ยุบสั้น สั้นกำหนดได้ไหม กำหนดไม่ได้ เปลี่ยนแปลงใหม่ กำหนดได้ ทำไป ในเมื่อทำไปแล้วมันเหนื่อย พองหนอ ยุบหนอมันเหนื่อย กำหนดไม่ได้ทำอย่างไร ทำไมถึงเหนื่อย หายใจไม่เท่ากัน ลมหายใจไม่เท่ากัน มันเหนื่อยในเมื่อกำหนดไม่ได้ อย่างนี้แล้วเหนื่อยมาก จึงต้องค่อย ๆ นอนลงไป วิธีแก้ เอามือประสานท้อง หายใจยาว ๆ ไว้ก่อนให้ได้จังหวะ พอได้จังหวะดีหายใจได้ถูกที่ดีแล้ว ก็ค่อย ๆ กำหนดไปเรื่อย ๆ รับรองผู้ปฏิบัติได้รับผลแน่นอน

เรื่องอย่างนี้บางทีถามไม่รู้เรื่องกันซักคน ทำมานานแล้วถามไม่รู้เรื่อง ทำนองนี้เอาง่าย ๆ อย่างนี้ และต้องทำได้อย่างนี้ รูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ นามรูปปริจเฉทญาณ แยกรูปตรงไหน แยกนามอย่างไร อย่าลืมรูปทั้งหลายสกลกายทั้งหมด สัมผัสเกิดจิต สภาวะรูปเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรคงที่ และไม่สามารถจะเห็นทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ของมันและเราทำได้ ปัญญาเกิดเห็นทันปัจจุบันของมันแน่นอน ในเมื่อเห็นทันปัจจุบันแล้ว เราจะพิจารณาได้เลยว่า อ๋อ เป็นอย่างนี้แหละหนอ หายใจเข้ายาว ๆ หายใจออกยาว ๆ คงที่ได้เมื่อใด เปลี่ยนแปลงภาวะได้อย่างไร เราจะอารมณ์ดีเกิดเมตตาแน่นอน และเกิดมีทิฐิมาแต่เดิมเปลี่ยนแปลงภาวะ จากใจร้อนกลับใจเย็น จากฟุ้งซ่านเกิดความสงบ จากความสงบเกิดปัญญา จากปัญญาเกิดความคิด จากความคิดคนนั้นแหลมลึกในเรื่องคำพูด คนนั้นคล่องแคล่วในการทำงาน คนนั้นสามารถจะรู้เหตุการณ์เกิดเฉพาะหน้าปัจจุบันได้ โดยวิธีนี้ประการหนึ่ง

นี่อยากจะถามพวกโยมนอนหลับรู้แล้วหรือยังจับได้ไหม หลับอย่างไร สติไว้ตรงไหนกันแน่ เท่านี้ยังไม่มีใครตอบเลยมาช้านาน นี่ประเมินผลกันเสียทีในวันนี้ แล้วกำหนดคิดหนอคิดอะไรได้บ้าง เปล่าเลยไม่เคยกำหนดนั่นแหละเป็นอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้ว กำหนดได้เมื่อใด สติมีเมื่อใด สามารถจะระลึกเหตุการณ์ในชีวิตได้โดยชัดแจ้ง จากคำกำหนดว่า คิดหนอ มีประโยชน์มาก โยมคิดอะไรได้บ้างที่มันลืมเลือนเรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเราสติดีปัญญาเกิด ความคิดของกรรมจะปรากฎแก่นิมิตในเราทราบได้ว่า เราจะใช้กรรมวันพรุ่งนี้แล้วและเราก็จะได้ประโยชน์ในวันพรุ่งนี้แล้ว นี่อดีตนะแสดงผลงานปัจจุบัน ปัจจุบันแสดงผลงานในอนาคต อย่างนี้ยังตอบกันไม่ได้เลย ถามมานานแล้ว ไปทำนอกประเด็นนี้หมด ไม่เกิดประโยชน์แต่ประการใด ที่เรารู้สรรพสำเนียง เสียงนกกำหนดเสียงหนอ อ๋อนกเขาร้องด้วยเหตุผล ๒ ประการมันบอกได้อย่างนี้ เราเดินผ่านต้นไม้ สติดี สัมปชัญญะดี ต้นไม้จะบอกอารมณ์แก่เราได้ว่าขณะนี้เป็นอย่างไร นี่เท่านี้ยังมองไม่เห็นเลย

นี่พูดทางแนวปฏิบัติสั้น ๆ ง่าย ๆ เบื้องต้น เพราะฉะนั้นขันธ์ห้ารูปนามแยกออกไป รูปเช่นแยกว่า หูกับเสียงแยกอย่างไร ตากับรูปแยกอย่างไร กลิ่นกับจมูกแยกอย่างไร สัมผัสเกิดจิต จิตในจมูกดูดกลิ่นเหม็นหอมแยกอย่างไร ลิ้นกับรสแยกอย่างไร คนไหนแยกได้จะไม่บ่นเรื่องอาหารเลย คนไหนแยกหูกับเสียงได้จะไม่บ่นกับบุคคลที่มาว่ากล่าวเสียดสีแต่ประการใดเลย คนไหนแยกตากับรูปได้เมื่อไร คนนั้นจะไม่ตำหนิติเตียนบุคคลที่ผ่านไปมา เห็นด้วยปัญญาแล้ว ก็จะมองเห็นน่าสงสารน่าเวทนา จากคำว่าเห็นหนอตั้งสิตไว้นี่นักปฏิบัติธรรมก็ต้องสงบอย่างงี้

นี่แหละขันธ์ห้า รูปนามเป็นอารมณ์ แยกออกไปอย่างนี้ เสียงหนอ เสียงกับหูเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า เห็นหนอตากับรูปเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า ทำไมถึงคนละอัน ทำไมถึงอันเดียวกันอย่างไร ถ้าโยมมีปัญญาแยกนามได้ ก็จะทายได้ตอบได้โดยไม่ต้องดูหนังสือ เอาอย่างนี้ก่อนซิ ทำได้แล้วหรือยังขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ได้ภาวะทันปัจจุบันไหม ช้าที่สุดเหมือนคนจะตายยิ่งดีมาก เราจะได้เห็นภาวะปัจจุบันได้คล่องแคล่ว และสามารถจะเก็บหน่วยกิตไว้ได้ คือรวบรวมสติสัมปชัญญะไว้ในภายใน ถึงเวลาแสดงออกสติจะบอกได้ทุกประการ อันนี้เป็นผลงานของภาคปฏิบัติธรรมทั้งหมด

ขอสรุปว่าโยมอยู่วัดกันมานานแล้ว ตอบได้กันบ้างหรือยัง พองหนอ ยุบหนอนี้ และพองมีกี่ระยะ ยุบมีกี่ระยะ ระยะต้นว่าอย่างไร ระยะกลางว่าอย่างไร ระยะปลายว่าอย่างไร เดี๋ยวเหลือ ๑ ระยะ ระยะหนึ่งแปลความหมายว่ากระไร สะอึกขึ้นมาเหนื่อยขึ้นมา อะไรเกิดขึ้นแล้วกำหนดอย่างไร เท่านี้ทำได้หรือยัง ไม่ใช่นึกถึงก็เดินจงกรมแล้ว ก็นั่งหลับหูหลับตาโดยไม่เกิดปัญญาเลย ต้องรู้ตัวทุกเวลา เข้าใจทุกเวลาปัญญาเกิดทุกเวลา ในปัจจุบัน นี่ซิอดีต นี่ปัจจุบัน นี่อนาคต นี่เรื่องนี้สำคัญมากไม่ใช่ทำสงเดชนะ หรือรู้กันส่งเดชตามหนังสือแล้วก็ใช้ได้ ไม่งั้นก็ไม่ต้องปฏิบัติอ่านหนังสือใช้ได้ รู้ว่าอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อย่างนี้ใช้ได้ ไม่ต้องปฏิบัติก็ได้เป็นวิปัสสนาปลอม เป็นวิปัสสนึกไป เป็นวิปัสสนาไม่ได้แน่และผลงานจะเกิดขึ้นแก่เราก็ไม่ได้ด้วย ไม่มีความอดทนแน่และไม่มีอารมณ์ที่คงที่คงวา ที่เปลี่ยนผันแปรออกมาให้จิตเข้าสู่ภาวะโดยปัจจุบันธรรมเลย

โดยวิธีนี้ พองหนอ ยุบหนอ ได้จังหวะแล้ว สติก็ดีเป็นขั้นตอน สัมปชัญญะรู้ตัว บวกกัน พองยุบชัด เดี๋ยวก็เลือนลางเป็นญาณแต่ละอย่าง แล้วบางอย่างทำให้เบื่อหน่ายในการปฏิบัติ เกิดอะไรขึ้นมา ญาณไหนหรือ ไม่ใช่พูดตามญาณคิดค้นเดาเอาเอง โดยเฉพาะอาตมาเองยังไม่ได้ญาณชั้นสูงเลย ญาณชั้นต่ำที่เราทำได้ ทำให้เจริญก้าวหน้ามาได้เพราะญาณชั้นต่ำไม่สูงเกินไป ที่เขาได้กันเราต้องทำได้ โดยจุดมุ่งหมายอันนี้เป็นประการสำคัญ

วันนี้ก็ขอฝากนักปฏิบัติธรรมไว้อย่าไปนั่งคุยกัน สาธยายกันเลย ๗ วัน ๗ คืน ก้มหน้าก้มตาทำ และมีอะไรกับประสบอารมณ์ปัญหา กำหนดให้ได้ ให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เราจะรู้เหตุการณ์นั้นได้ทันท่วงที พระไตรลักษณ์ก็แจ้งคดีที่มีมา เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงเป็นทุกข์แท้ ๆ แน่เหลือเกินปัญญาเกิด รอบรู้ในกองสังขาร โดยวิธีปฏิบัติง่าย ๆ และกำหนดเวทนาได้ด้วย อ๋อ เมื่อยนี่เรื่องเล็ก ตั้งสติไว้เสียให้ดี เวทนาแยกแตกออกไป เปลี่ยนภาวะเวทนาไปส่วนหนึ่ง สัมผัสไปส่วนหนึ่ง ญาณวิถีทางของรูปนามส่วนหนึ่ง แล้วก็อาศัยรูปเกิดแล้วดับไป เวทนาก็กลับหายไป แยกออกไปเสียได้โดยวิธีปฏิบัติโดยวิธีนี้ เป็นต้น

นี่แหละโยม ผู้ปฏิบัติธรรมโปรดตั้งจุดมาตรการนี้ไว้ ไม่เพียงแต่พิจารณาโดยหลับตา พิจารณาโดยปัญญาด้วยการกำหนดจิต ใช้สติทุกประการ เดินจงกรมให้ชัด ปฏิบัติให้ดี และกำหนดให้ได้ทันท่วงทีและทันต่อรูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ นี่เบื้องต้นของภาคปฏิบัติวิปัสสนาญาณ เราจะรู้เหตุการณ์ได้ งูบหน้า งูบหลัง ถ้าคนไหนมีมากคนนั้นขาดสติ ด้วยวิธีการภาคกำหนดเบื้องต้น อันนี้มีความหมายมาก จึงขอชี้แจงสรุปผลงาน จากภาคปฏิบัติกรรมฐานที่โยมปฏิบัติกันทำให้มันต่อเนื่องเสียหน่อยเถอะ เดินจงกรมแล้วนั่ง นั่งแล้วก็เดิน ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ๗ วัน ๗ คืน เท่านั้นได้ผลแน่ ๗ วัน ๗ คืนเท่านั้นได้ผลยังไง ได้ผลอารมณ์ของรูปนาม ได้ผลยังไง มีสติสัมปชัญญะดีและสามารถจะรู้เหตุการณ์ในชีวิตได้ดีโดยปัจจุบัน สามารถจะแก้ไขทันเหตุการณ์ได้ในปัจจุบันเท่านี้เท่านั้น อันนี้มีความหมายมาก

ขอให้ญาติโยมสนใจต่อไปให้ถูกทาง และทำไปโดยไม่ต้องไปคิดเอาเอง ทำไปโดยไม่ต้องหาวิชาการมาใส่ตัวให้รู้เองก่อนทำ ต้องทำก่อนจะรู้ ไม่ใช่ไปรู้ก่อนทำนะ เดี๋ยวนี้รู้กันเสียก่อนแล้ว รู้ก่อนทำแล้วได้อะไร ก็ได้ของปลอมไปนะ ต้องทำก่อนรู้ซิไปรู้ก่อนทำมีที่ไหนเล่า ยังงี้อาตมาสังเกตมานานแล้ว ขอทบทวนให้โยมฟัง แค่เสียงหนอก็ไม่ได้เคยกำหนดเลย กำหนดคิดบ้างไหม กำหนดรู้บ้างไหม อย่าลืมคิดนะ เป็นอดีตนะ รวมเก่าที่มันลืมไปแล้วตั้งแต่เป็นเด็ก รู้หนอ อย่าลืมปัจจุบันยังรู้ไม่จริง ต้องกำหนดรู้หนอ อย่างนี้เสียงหนอ มันผ่านพ้นไปแล้วทำยังไงไม่ให้เสียสติ ต้องกำหนดปัจจุบัน อดีตอย่าเอา เข้าใจไหมจ๊ะ ต้องเข้าใจ ต้องกำหนดรู้หนอเสียก่อน เพราะมันเลยไปเสียแล้ว เอาปัจจุบัน อย่าเอาอดีต อดีตไม่เอา ถ้าเราลืมไปแล้วจะคิดเรื่องเก่าเอามาเล่นใหม่ก็กำหนดอดีตเรียกว่า คิดหนอ หายใจยาว ๆ ไม่มีคนทำเลยหรือ ไม่มีคนทำเลยอย่างนี้อาตมาเสียดายเสียใจด้วย ที่โยมไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้ จึงคิดไม่ออก บอกไม่ได้ ใช้ไม่เป็น ไม่เห็นตัวตายเลย ไม่คลายทิฐิ ไม่มีโอกาสดำริชอบ แน่นอนนะ จงตั้งใจอย่างนี้เป็นประการสำคัญ ขอสรุปผลงานไว้เพียงเท่านี้

ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมตั้งใจและขอเรียนถวายท่านทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตมีความคิดแล้ว จงปฏิบัติหน้าที่ แยกรูป แยกนาม แยกขันธ์แต่ละขันธ์ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ออกไปเป็นสัดส่วนให้ได้จากการปฏิบัตินี้ รูปคงเป็นรูป อาศัยเกิดด้วยรูปคือ เวทนา เวทนาขันธ์รวมความเหลือ ๓ สุข ทุกข์ อุเบกขา แน่นอนไม่ผันแปร สัญญาความจำได้หมายรู้ต้องกำหนดว่า คิดหมด จำได้ไหม จำไม่ได้ อดีตมาโผล่ ลืมไปเสียแล้ว ผ่านไปเสียหมด เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ต้องเอาปัจจุบันมาแทน จึงต้องกำหนดรู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ เพราะมันเป็นอดีตผ่านพ้นไปเสียแล้วกำหนดไม่ทันเอาปัจจุบันแก้ ถ้าหากปัจจุบันแก้ไม่ได้ทำอย่างไรต้องสำรวมจิตกันใหม่ ตั้งต้นใหม่ แก้ไม่ได้ปล่อยให้มันเป็นอดีตไป……